บทความที่ ๓๙: อาชีพแห่งความเป็นมนุษย์ Human profession, a life-friendly version
0 comments Posted by contemplative-soul at 9:08 PMโดย ณัฐฬส วังวิญญู
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๐
------------------------------------------------------------
เวลายายของผมกลับไปทำบุญและเยี่ยมเยียนหมู่บ้านทุกวันพระ บางครั้งจะมีคนในหมู่บ้านถามว่า ผมทำงานอะไร ยายมักตอบไปว่า “ก็ไม่รู้เหมือนกัน เห็นเดินทางไปๆ มาๆ” และยายก็มักจะหัวเราะตามเสมอเวลาที่ตัวเองไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าอาชีพของหลานตัวเองนั้นคืออะไร แม้ว่าจะล่วงเลยมาหลายปีแล้วนับตั้งแต่วันที่ผมตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านในเมืองเล็กๆ อย่างเชียงราย ยายเองดูจะมีความสุขและภูมิใจที่เห็นผมมีเวลาอยู่กับบ้าน ได้กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา อย่างน้อยก็มื้อเย็น หรือไม่ก็มื้อกลางวันด้วย และผมมักมีเวลาพูดคุยกับยายเสมอ บางครั้งเราเพียงแต่มองหน้าสบตากัน รับรู้กันและกันว่ายังดำรงอยู่ด้วยดี ก็มีค่าเพียงพอแล้ว ยายคงคิดว่าอาชีพการงานที่ไม่เป็นหลักแหล่ง หรือการไม่มีงานประจำของผม เป็นเรื่องไม่น่าเป็นห่วงสักเท่าไร
การสละเรื่องส่วนตัว เวลาส่วนตัว เวลาครอบครัว พลังชีวิตเพื่ออุทิศให้กับการบรรลุเป้าหมายหรือวาระขององค์กรนั้นดูเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมสรรเสริญ แล้ว “วาระของชีวิต” ของเราเองล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายใจของตัวเองและคนที่เรารัก หรือคนใกล้ชิดที่สุดที่บางครั้งเราคิดไปเองว่าเป็น “ของตาย” ล่ะ เราได้ดูแลอย่างที่เราอยากดูแลหรือเปล่า ทั้งๆ ที่บางทีเราบอกตัวเองว่าที่ทำไปก็เพื่อครอบครัว เพื่อลูก หรือเพื่อคนใกล้ชิด แต่เราได้สละตัวเองเพื่อตัวเองบ้างไหม
วาระแห่งชีวิตเหล่านี้น่าจะได้รับการยกระดับให้เป็นวาระแห่ง “ชาติ” ที่อาจหมายถึง วาระที่มีมาพร้อมกับการเกิดเป็นมนุษย์ และคงเป็นสิ่งที่น่ายินดีไม่น้อยหากผู้คนในสังคมสมัยใหม่จะ “เลือก” ใส่ใจคนรอบข้างอย่างอ่อนโยนยิ่งขึ้น ดูแลผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งทางเลือดเนื้อกายาและจิตใจของเขาอย่างเคารพ
Labels: ณัฐฬส วังวิญญู
บทความที่ ๓๘: สามฐาน สามทัศน์: กรอบการปฏิบัติสู่ชีวิตที่สมบูรณ์
1 comments Posted by contemplative-soul at 3:46 PMโดย พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๐
-------------------------
ชีวิตที่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับเราทุกคน หากเราเลือกใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับกระบวนการภายในตัวของมนุษย์ การใช้ชีวิตเช่นนี้ได้ จำเป็นต้องเริ่มต้นโดยมองตัวเราเองใหม่ในฐานะเป็นหน่วยองค์รวม อันประกอบขึ้นจากหลายส่วน ในที่นี้อาศัยการจำแนกจัดกลุ่มส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบกันเป็นองค์รวมชีวิต ออกเป็น “สามฐาน สามทัศน์”
การแยกแยะส่วนต่างๆ ในองค์รวมชีวิตออกเป็นสามฐาน สามทัศน์ เป็นการแยกแยะอย่างง่ายที่ช่วยให้เราเข้าใจว่ามนุษย์ไม่ได้มีตัวตนที่สามารถควบคุมได้ แต่มนุษย์จำเป็นต้องอ่อนน้อมอย่างเข้าใจต่อความหลากหลายอันประกอบขึ้นมาเป็น “ตัวฉัน” โดยแต่ละส่วนต่างมีกระบวนการที่มี “ชีวิต” ของมันเอง และความเป็นทั้งหมดที่ประกอบขึ้นมาเป็น “ตัวฉัน” คือ “สหชีวิต” ที่แต่ละส่วนต่างอิงอาศัยซึ่งกันและกัน
Labels: พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์
โดย ธนา นิลชัยโกวิทย์ เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๐
-------------------
Labels: ธนา นิลชัยโกวิทย์
บทความที่ ๓๖: สานเสวนาเพื่อลดปัญหาความรุนแรงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
0 comments Posted by knoom at 10:52 PMโดย ปาริชาด สุวรรณบุบผา เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๐
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต ๙ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่หนึ่งที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ได้ให้ความสำคัญในการดูแล บำบัด แก้ไข จิตใจเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง โดยผ่านกระบวนการสานเสวนา (Dialogue) เพื่อสื่อสาร ฟังกันและกันด้วยเมตตาระหว่างเจ้าหน้าที่และเยาวชน และระหว่างเยาวชนกับเยาวชน เพื่อป้องกันและลดความเข้าใจผิด มิให้พัฒนาเป็นความรุนแรง ทำร้ายร่างกายกันระหว่างเด็กที่มาจากจังหวัดต่างกัน และระหว่างเยาวชนไทยพุทธและมุสลิมในที่สุด
ต้องไม่ลืมว่า เยาวชนที่กระทำผิดเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ใช้ความรุนแรงทั้งในระดับครอบครัว กลุ่มเพื่อน และในชุมชนมาแล้วทั้งสิ้น คดีที่กระทำผิดมีตั้งแต่การลักขโมย การเกี่ยวข้องเป็นผู้เสพและซื้อขายยาเสพติด ปล้น ข่มขืน และฆ่า การกระทำความผิดของเยาวชนเหล่านี้มีทั้งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเจตนาและเคยชินในการทำความผิด แต่เมื่อเขาเหล่านี้ได้รับโทษและเข้ามาอยู่ในสถานพินิจ เจ้าหน้าที่และตัวเยาวชนเองควรเชื่อมั่นว่าเขาจะสำนึกผิด และตั้งใจจะก้าวพ้นความผิดที่ผ่านมา ต้องเชื่อมั่นว่า “เขาเหล่านี้จะสามารถกลับตัวและเปลี่ยนแปลงเป็นคนดีได้” หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องคือ ทำอย่างไรจะพัฒนาทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนดังกล่าวให้ตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของตน อันสามารถจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ถ้าตนเองต้องการจะเปลี่ยน
กระบวนการสานเสวนาที่จัดโดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่และเยาวชนผู้กระทำผิดมีโอกาสมาใกล้ชิดกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกันอย่างวางใจ และสื่อสารปัญหาข้อขัดข้องซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยของผู้อื่นแต่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่และเป็นกำลังใจของเยาวชนผู้กระทำผิดเหล่านี้ เช่น กรณีการค้นหอนอนของเจ้าหน้าที่เพื่อหายาเสพติด หลายคนต้องสูญเสียสมุดบันทึก จดหมาย และรูปของผู้ใกล้ชิด สิ่งของที่เป็นกำลังใจเหล่านี้ถูกโยนทิ้งไป หรือแม้แต่การที่บางคนตัดพ้อเจ้าหน้าที่ว่า เมื่อการตรวจค้นได้สิ้นสุดลง และไม่ปรากฏสิ่งต้องห้ามและผิดกฎใดๆ ข้าวของที่ถูกรื้อค้นกระจุยกระจายก็ถูกปล่อยทิ้งให้เขาต้องจัดกลับเข้าสู่สภาพเดิม หากไม่มีการสานเสวนาเพื่อฟังกันอย่างวางใจ เปิดอกฟังอย่างเอาใจเขาน้อมเข้ามาสู่ความคิดคำนึงของเจ้าหน้าที่แล้ว ความเข้าใจผิดระหว่างกันจะพัฒนาเป็น “ปมการต่อต้าน” สะสมขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
ในกรณีความขัดแย้งระหว่างเยาวชนในสถานพินิจเด็กฯ เยาวชนที่ซึมซับภาพของความรุนแรงในครอบครัว ในสังคม มีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงเช่นนั้นได้อีก เมื่อต้องมาอยู่รวมกัน ความเครียด ความคับแค้นใจ และความพยายามที่จะสร้างภาพ “ความสำคัญ” ของตนเองกลับคืนมา ทำให้หลายคนทำตัวเป็น “ขาโจ๋” ผู้มีอำนาจมี “ลูกเด็ก” เป็นลูกน้องคอยบังคับให้ทำตามคำสั่งตามที่ตนต้องการ ถ้าใครขัดขืนจะถูกทำร้ายร่างกาย ข่มขืนจิตใจ และเป็นเหตุให้ “ผู้ถูกกระทำ” ต้องเป็นคู่กรณีในการกระทำความรุนแรง ทั้งเพื่อป้องกันตนเอง และเพื่อป้องกันกลุ่มเด็กจากจังหวัดของตน เขาเหล่านี้ต้องการการเยียวยาบาดแผลในอดีตด้วยความเข้าใจ ดังนั้นกระบวนการสานเสวนา จึงเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมให้เขาได้มี “สติ” โดยการสงบนิ่งอยู่กับตนเอง เขาจะสนใจ “ระฆังแบบทิเบต” ที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้ไม้สัมผัสขอบนอกของระฆังอย่างสมดุล บนมือที่ถือระฆังไม่กำไม่แบเกินไป การฝึกให้เยาวชนที่มีสมาธิค่อนข้างสั้นเหล่านี้ได้ “เชิญระฆัง” ให้มีเสียง เป็นอุบายอย่างหนึ่งในการเรียกสมาธิและสติให้กลับมาสู่ตนในปัจจุบันขณะ ประกอบกับเสียงระฆังที่กังวานไพเราะ อาจสื่อถึงความพิเศษ ความศักดิ์สิทธิ์ และความสงบที่ชีวิตของเขาเหล่านี้เรียกร้องอยู่ภายในจิตใจลึกๆ ในสถานที่ห่างไกลจากญาติพี่น้อง และพ่อแม่ผู้เป็นที่รัก
กระบวนการสานเสวนายังทำให้เยาวชนตระหนักถึง “คุณค่า” และมั่นใจว่าตนก็สามารถทำความดีได้ ผ่านกิจกรรมให้รางวัลการทำดีของตน ด้วยการใส่เม็ดถั่วเขียวในถ้วย ทีละเม็ด เมื่อระลึกได้ถึงความดีที่ได้กระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในแต่ละครั้ง เป็นการฝึกสติให้อยู่กับตน ฝึกความซื่อสัตย์ที่จะตัดสินให้คุณค่าตน กล้าและมั่นใจเล่าให้เพื่อนคนอื่นรับรู้ ผ่านการฟังอย่างลึกซึ้งของกระบวนการสานเสวนา แม้เป็นสิ่งเล็กน้อย เช่น การชักนำเพื่อนไปทำละหมาด ช่วยครูยกของ เป็นต้น เมื่อเขามั่นใจว่าการทำความดีมีคุณค่า และตนก็ทำได้ การจะชักจูงให้เขา “เต็มใจและอาสา” ทำความดีในแบบอื่นๆ ก็เป็นสิ่งไม่ยากเลย เราพบว่าเยาวชนเต็มใจลงชื่อเป็นอาสาสมัครช่วยทำความสะอาดโต๊ะอาหาร ช่วยกิจกรรมของเจ้าหน้าที่มากขึ้น หลังการฝึกสานเสวนา การบอกเล่าถึงความดีระหว่างกันในวงสานเสวนา เป็นกิจกรรมที่สามารถฟื้นฟู เรียกคืนความรู้สึกให้ตระหนักถึง “คุณค่า” ของความเป็นมนุษย์ที่เขาเหล่านี้ รู้สึกว่าสูญเสียไปนับตั้งแต่พวกเขากระทำผิดและรับโทษอยู่ในสถานพินิจฯ
การฟังอย่างลึกซึ้ง โดยไม่ขัดจังหวะ โดยไม่ตัดสินไว้ล่วงหน้าเป็นการใช้ “สติ” ฟังด้วย
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก่อให้เกิดความเข้าใจความเห็นอกเห็นใจ เกิดเป็นพลังที่ฉายให้เห็นแสงของความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น เจ้าหน้าที่ผู้ฟังความทุกข์ ความขัดข้องใจของเยาวชนด้วยเมตตาจิต จะสามารถเห็นความทุกข์และความเป็นมนุษย์ของเขาในตนเองและในงานหน้าที่ของตนได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน เมื่อเด็กได้ฟังเหตุผล คำอธิบายของเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องปกครองเยาวชนจำนวนมาก จำเป็นต้องวางกติกาที่เข้มงวด ก็ได้เข้าใจว่ากติกาเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำของเยาวชนบางกลุ่มบางคนนั้นเอง ทำให้ต้องมีกฎต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย เช่น การไม่อนุญาตให้นำสมุดบันทึกขึ้นหอนอน เพราะมีเยาวชนบางคนใช้กระดาษของสมุดบันทึกไปมวนยาที่ลักลอบนำเข้ามาเช่นนี้ เป็นต้น
การที่เจ้าหน้าที่และเยาวชนใช้กระบวนการสานเสวนาอันเป็นการฟังอย่างลึกซึ้งด้วยจิตที่เมตตาต่อกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้มีสติ วางใจและเข้าใจกันมากขึ้น เมื่อทั้งสองฝ่ายได้สื่อสารอย่างสันติเช่นนี้ ถือว่าต่างทำหน้าที่ “ภายนอก” ของตนในฐานะเจ้าหน้าที่และในฐานะเยาวชนผู้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ทั้งยังฝึกความอดทนความใจกว้าง การเชื่อใจ ให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตายของกันและกันอย่างยิ่ง สานเสวนาจึงมีส่วนร่วมในการลดความขัดแย้งระหว่างกัน ทำให้การทำหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายอยู่บนพื้นฐานของการฝึกคุณธรรม ก่อให้เกิด “งานภายนอก” (การสร้างความเข้าใจ ลดความขัดแย้ง) และการฝึกการสร้าง “งานภายใน” (คุณธรรมข้างต้น) อันเป็นลักษณะหนึ่งในการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาที่จะโยงการเรียนรู้จากภายใน ควบคู่กับการปฏิบัติงานภายนอกด้วยนั่นเอง
Labels: ปาริชาด สุวรรณบุบผา